โรงพยาบาลสงขลานครินทร์:SONGKLANAGARIND HOSPITAL
 
 
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์:SONGKLANAGARIND HOSPITAL
 
 
 
 
 

เมื่อปี 2547 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้รับรางวัล Claim Award เป็นปีแรก ซึ่งเป็น 1 ใน 2 โรงเรียน
แพทย์ในประเทศไทยที่ได้รับรางวัล แต่ในครั้งนี้ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรก
และแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลClaim Award ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน คือ ในปี 2547, 2548
และ 2549 ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพและความสามารถของทีมงานเงินรายได้ และ Coder

 
รางวัล Claim award คือ รางวัลที่สำนักงานหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)มอบให้แก่โรงพยาบาล
ที่สามารถส่งข้อมูลการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลของ
ผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30บาท
รักษาทุกโรค)ในรูปแบบอิเลคทรอนิคส์ โดยผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมโดยมีตัวชี้วัด
ที่สำคัญ 3 ตัว คือ
 

1. ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น
โดยเน้นความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย
เช่น ประเภทสิทธิ์ของผู้ป่วย ประเภทของกองทุนที่เบิกจ่าย
การจัดกลุ่ม ค่ารักษาพยาบาลและอื่นๆ เป็นต้น

 

2. ข้อมูลที่หน่วยบริการได้รับการชดเชย
โดยเน้นความสอดคล้องของข้อมูลค่าใช้จ่ายกับข้อมูลทาง
คลินิกและเชื่อมโยงกับประเภทของกองทุน ซึ่งเปรียบเทียบ
จากอัตราการปฎิเสธการจ่ายชดเชย ต่อข้อมูลทั้งหมดของ
ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ให้บริการซึ่งโรงพยาบาล
สงขลานครินทร์มีจำนวนผู้ป่วยนอกที่ต้องส่งเบิกทั้งหมด
เฉลี่ย12,000 ราย/เดือน ผู้ป่วยใน เฉลี่ย1,200 ราย/เดือน

  3. ข้อมูลที่หน่วยบริการส่งทันตามกรอบเวลาที่
สปสช.กำหนด
โดยข้อมูลที่ส่งจะต้องสมบูรณ์และผ่านการตรวจสอบ
เบื้องต้นภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้ป่วยจำหน่ายออก
จากโรงพยาบาล (กรณีผู้ป่วยใน) หรือ วันที่ผู้ป่วยรับ
บริการ(กรณีผู้ป่วยนอก)

 

ซึ่งรางวัลนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามขนาดของโรงพยาบาล กล่าวคือโรงพยาบาลจำนวนไม่เกิน 100 เตียง
500 เตียง และ 500 เตียงขึ้นไป โดยโรงพยาบาลสงขลานครินทร์อยู่ในประเภทที่ 3
       ปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้รับรางวัล Claim Award คือ การทำงานเป็นทีม
ร่วมกัน
ระหว่างงานเงินรายได้ และงานเวชระเบียน โดยมีจุดหมายเดียวกันคือ “ คุณภาพของงาน ”แม้ว่า
การเบิกจ่ายเงินตามระบบDRG จะมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และ Dinamic เพียงใดก็ตาม การระดมสมอง
ในการคิดร่วมใจในการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งแห่งผลสำเร็จของงาน
การเรียนรู้และสอนงานระหว่าง
2 หน่วยงาน
ซึ่งกันและกันโดยยึดหลัก KM เป็นปัจจัยอีกอย่างแห่งความสำเร็จโดยเจ้าหน้าที่งานเงินรายได้
จะต้องเรียนรู้ข้อมูลทางคลินิกจาก Coder และในทางกลับกัน Coder ก็ต้องเรียนรู้ข้อมูลทางการเงินจาก
เจ้าหน้าที่งานเงินรายได้เพื่อทำความเข้าใจและเชื่อมโยงงานได้อย่างถูกต้องการออกแบบระบบงานที่มี
ประสิทธิภาพ
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของบุคลากรให้
ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นสิ่งท้าทายทั้งสิ้น เพราะนั้นหมายถึง โอกาสที่จะถูกปฎิเสธการจ่ายเงินได้
 
         
     
         
  สุดท้ายที่ขาดมิได้ คือความตั้งใจ ความรัก และศรัธทาของบุคลากรที่มีต่อองค์กร การสนับสนุนจาก
เทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้บริหารตลอกจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างดียิ่ง
 
 
 

 
Last Updated: 22 April 2019,
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 0-7445-5000, โทรสาร : 0-7421-2900, 0-7421-2903
webmaster : pr@medicine.psu.ac.th