โรงพยาบาลสงขลานครินทร์:SONGKLANAGARIND HOSPITAL
 
บริการสิทธิประโยชน์เด็กและสตรี

 

•  วัตถุประสงค์
  เป็นการให้บริการผู้ป่วยเด็กและสตรี
ที่ถูกกระทำรุนแรงด้านร่างกาย
จิตใจ และทางเพศ รวมทั้งการติด
ตามช่วยเหลือต่อเนื่องที่บ้านและ
ชุมชนในรายที่จำเป็น
 
•  กลุ่มเป้าหมาย
  1. ผู้ป่วยเด็ก หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอายุ
ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 14 ปี
  2. ผู้ป่วยสตรี หมายถึง ผู้ป่วยหญิง
ที่มีอายุมากกว่า 14 ปีขึ้นไป
   
  การถูกกระทำรุนแรงทางกาย หมายถึง การใช้กำลังและ/หรือ
อุปกรณ์ใด ๆ เป็นอาวุธทำร้ายร่างกาย
  เกินกว่าเหตุ มีผลทำให้ ร่างกายได้รับบาดเจ็บ
 

การถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจ หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบ
กระเทือนด้านจิตใจ หรือเสีย สิทธิเสรีภาพ ได้แก่ การทอดทิ้ง การดูถูกเหยียดหยามหรือดุด่าการกักขัง
หน่วงเหนี่ยว

  การถูกกระทำรุนแรงทางเพศ หมายถึง การกระทำที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบกระเทือน
หรือเสียหาย เกี่ยวข้องกับเพศ ได้แก่ การถูกข่มขืน การถูกลวนลามอนาจาร การถูกบังคับ ค้าประเวณี
เป็นต้น
 

•  วัน / เวลา / สถานที่

     
วันจันทร์ - วันศุกร์
ผู้ป่วยนอก
เวลา 07.30 น. – 16.30 น.
(ไม่พักกลางวัน)
สถานที่ หน่วยสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยนอก ช่องหมายเลข 11 หรือ 12 บริเวณชั้น 1
(ตรงข้ามห้องจ่ายยา) โทรศัพท์ 074-451022
ผู้ป่วยใน
เวลา 08.30 น. – 16.30 น.
(ไม่พักกลางวัน)
สถานที่ หน่วยสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยใน ตึกสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
บริเวณชั้น 2 หน้าลิฟท์ โทรศัพท์ 074-451023
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ผู้ป่วยนอก /
ผู้ป่วยใน
เวลา 08.30 น. – 12.30 น.
สถานที่ หน่วยสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยนอก ช่องหมายเลข 11 หรือ 12 บริเวณชั้น 1
(ตรงข้ามห้องจ่ายยา) โทรศัพท์ 074-451022
     
• การเข้าถึงบริการ   • การให้บริการ / ให้การช่วยเหลือ
1.ผู้ป่วยหรือญาติติดต่อด้วยตนเองและแจ้งราย
ละเอียดเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่ผู้ป่วยหรือญาติ
กำลังเผชิญ
2. บุคลากรทางการแพทย์เขียน “ใบส่งผู้ป่วยปรึกษา
งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย” ระบุปัญหาแรกพบหรือแจ้ง
นักสังคมสงเคราะห์ประจำหอผู้ป่วย ขณะเยี่ยมผู้ป่วย
ที่หอผู้ป่วย
3. กรณีไม่มีญาติ บุคลากรทางการแพทย์ที่พบเห็น
โทรศัพท์แจ้ง งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย
โทร. 1020 / 1023 / 1024
 
1. ด้านเศรษฐกิจ : ค่ารักษาพยาบาล / ค่าครองชีพ
ประจำวัน ฯลฯ
2. เครื่องอุปโภค บริโภค
3. ค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือจัดรถ
เดินทางไปส่งยังภูมิลำเนา หรือสถานสงเคราะห์ /
ฝึกอาชีพ
4. จัดหาที่พักพิงชั่วคราว (บ้านพักฉุกเฉิน)
5. การหาครอบครัวอุปถัมภ์
6. ประสานเครือข่ายเพื่อให้การช่วยเหลือระยะยาว หรือให้การช่วยเหลือต่อเนื่องเมื่อแพทย์สิ้นสุด
การรักษาพยาบาล

 

 
 
 

 
Last Updated: 22 April 2019,
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 0-7445-5000, โทรสาร : 0-7421-2900, 0-7421-2903
webmaster : pr@medicine.psu.ac.th